เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นางสาวพรทิพย์ จันสะอาด รหัส 52031390165

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อ 'พท.-นปช.-นิติราษฎร์' กิน 'ไทลินอล' กับบทส่งท้าย แก้รธน.รายมาตรา

เมื่อ 'พท.-นปช.-นิติราษฎร์' กิน 'ไทลินอล' กับบทส่งท้าย แก้รธน.รายมาตรา
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้รัฐบาลและพรรคร่วมฯ ไม่ผิดในข้อหา ล้มล้างการปกครองของประเทศ คดีร่างแก้ไขรธน. ม.291 ขัด รธน.ม.68 ถือเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่?  ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ รอดถูกยุบพรรคไปได้อย่างหวุดหวิด เมื่อวันศุกร์ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา
แน่นอนคนทั้งประเทศต่างรู้สึกโล่งอกกับคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ สะท้อนได้จากผลสำรวจโพลของสำนักต่างๆ ที่ประชาชนให้ความคิดเห็น ส่วนใหญ่อยากให้ชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน  เพราะเห็นว่าเป็นต้นเหตุความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจรุนแรงไปถึงขึ้นกลายเป็นสงครามกลางเมือง อย่างที่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำนปช.ออกมาดักคอไว้ได้
breakผลคำวินิจฉัยของ ศาลรธน.ที่ตอนแรกใครๆ ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออก และถือเป็นข้อยุติ ซึ่งในความเป็นจริงมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่แล้วกลับไม่เป็นดังคิด เพราะหลังทราบผลคำวินิจฉัยกลาง ของศาลรธน.แล้ว ฝ่ายผู้ถูกร้อง นั่นก็คือรัฐบาลและรัฐสภา กลับมีท่าทีเห็นว่าคำตัดสินของศาลรธน.มีปัญหา ทั้งอ้างว่า คลุมเครือและสับสนนำไปปฏิบัติไม่ถูก ทั้งกรณี ลงประชามติ หรือแก้ไขเป็นแบบรายมาตรา
ถึงขนาดกลุ่มนิติราษฎร์ นำโดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์  ออกมาเสนอให้มีการยุบศาลรธน.ทิ้ง ด้วยการล่ารายชื่อประชาชน 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วให้ตั้งองค์กรใหม่ ชื่อว่า "ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ" ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เนื่องจากไม่พอใจศาลรธน.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ไม่มีความเป็นกลาง รวมทั้งกลุ่มนิติราษฎร์ ยังออกมาเชียร์ให้รัฐสภา ใช้ความกล้าหาญ ลงมติแก้รธน.วาระ 3 สวนคำ เสนอแนะ ศาลรธน.ไปเลย
breakซึ่งก็ขานรับทันที นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะแกนนำ นปช.ออกมาระบุ ว่า เห็นสมควรให้ประชาชน ทำประชามติยุบศาลรธน.เลยหรือไม่? และส่วนตัวก็สนับสนุนให้ลงมติแก้รธน.ในวาระ 3 
ขณะที่หากสังเกตกันให้ดี ฝ่าย ส.ส.พรรคเพื่อไทย อาทิ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กลับยืนยันหัวชนฝา ไม่เห็นด้วยกับแกนนำนปช. หรือกลุ่มนิติราษฎร์ ที่เสนอให้สภาฯใช้ความกล้าหาญ ลงมติฯในวาระที่ 3 ไปแลย  นักการเมืองที่มีประสบการณ์สูง ทั้ง 2 คน กลับเห็นพ้องให้รัฐบาลเพื่อไทยใช้วิธีแก้ไข รธน.เป็นรายมาตรา ทั้งร่ายเหตุผลว่า ดีกว่า ไม่สุ่มเสี่ยง เรื่องอาจกลับไปสู่ศาลรธน.อีกครั้ง รวมทั้งยังประหยัดเวลาและเสร็จเร็วกว่าด้วย
break“ผมวอนเพื่อนสมาชิกพรรคเพื่อไทย วันนี้ท่านทั้งหลายต้องรู้ว่าเราเป็นรัฐบาล อะไรก็ตามที่สงบนิ่งมันจะเป็นผลดีให้ท่านนายกฯบริหารราชการด้วยความราบเรียบ เราไม่ได้เป็นฝ่ายค้าน การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช้า 3 – 6 เดือน ไม่เป็นอะไร ยังทำได้ วันนี้เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้แก้ไขเป็นรายมาตรามันจะเร็วยิ่งกว่า ตั้งส.ส.ร. และพอแก้ไขเป็นรายมาตราเสร็จ ก็ไม่ต้องทำประชามติ เสร็จเร็วกว่าการจะดื้อดึงลงมติวาระ 3 ที่อาจมีคนไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญอีก เดี๋ยวก็ต้องไปกินไทลินอลกันทุกเช้า วันนี้เมื่อศาลบอกแก้ได้เป็นรายมาตราได้ก็ง่ายแล้ว” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยความมั่นใจอีกว่า เขาไม่ค่อยเชื่อตน ถ้าเชื่อตั้งแต่ต้นก็ไม่ต้องมานั่งกินไทลินอล แต่คนที่เชื่อก็พอมี ทั้งนี้หลายคนที่อยู่กับพรรคมานานเขามองตนเป็นคนใหม่ ไม่ได้มองว่าตนเล่นการเมืองมาตั้งแต่ปี 2526 อย่างไรก็ตาม ในพรรคมีคนเก่งเยอะ เหมือนเรือที่แย่งกันพาย บางทีก็พายหัวพายท้าย เรือเลยไม่ไปไหน ล่มคงไม่ล่ม พรรคใหญ่เหมือนเรือใหญ่ เวลาจะเปลี่ยนทิศทางหรือกลับลำมันก็ช้า แต่ก็แสดงให้เห็นว่าพรรคเป็นประชาธิปไตย
break“ถ้าเรายกร่างเป็นรายมาตราแก้ไขง่ายกว่า ส.ส.ร.ใช้เวลา 180 วัน แต่นี่ไม่ถึงหรอก ระยะนี้ใกล้จะปรับครม.ก็แสดงความเห็นกันมาก ออกแอ็กชั่นกันเยอะ ถ้าให้ผมร่างท้ายที่สุดก็แค่ 90 วัน มันไม่ยาก เราต้องตั้งประเด็น 1 2 3 ว่าจะแก้อะไรและก็เดินไป  แต่เมื่อศาลชี้มา อย่างนี้ก็อย่าไปเถียงกับเขา เราก็ทำในสิ่งที่เขาบอก ให้ร่างเป็นรายมาตราเขาก็พูดไม่ได้แล้ว แต่ถ้าเกิดไปลงมติในวาระ 3 ปัญหาเกิดแน่ ผมอ่านไม่ผิดหรอก หากให้ผมทำ ผมมีทีมงาน 3-4 คน รวมทั้งนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แค่นี้ก็เรียบร้อยไม่มีปัญหา”
ขณะที่ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กลับเห็นขัดแย้งกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ที่ระบุว่าควรปฏิบัติตามคำแนะนำของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือให้ทำประชามติก่อนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือให้ ส.ส. ส.ว. เสนอแก้ไขเป็นรายมาตรา ส่วนตัวเห็นว่าไม่สามารถนำมาปฏิบัติในชั้นนี้ได้และมองว่าในฐานะประธาน รัฐสภาไม่ควรแสดงความเห็นออกมา ซึ่งในหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (5) ระบุไว้ว่าเมื่อพิจารณาวาระสองเสร็จสิ้นแล้วให้รอไว้ 15 วัน ก่อนที่จะลงมติในวาระ 3
breakดังนั้นเมื่อพิจารณาประเด็นนี้ รัฐสภาสามารถลงมติใน วาระ 3ได้ นอกจากนั้นคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อแนะนำว่าควรทำประชามตินั้น ถือเป็นการแสดงความเห็น ไม่มีสภาพบังคับ และความเห็นของรัฐสภาอาจแตกต่างกับของพรรคเพื่อไทย ได้แต่คงต้องรอการหารือกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยก่อน 
"ต้องคุยกันให้จบ ไม่ใช่ปล่อยคาราคาซัง เพราะหากเราลงมติในวาระ 3 ไป อาจมีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกส่วนที่ต้องทำประชามติปัญหาคือจะทำช่วงไหน ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้หากจะทำประชามติทั้งก่อนและหลังโหวตวาระสาม ถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำถึง 2 ครั้ง" รองประธานสภาฯ กล่าว
breakส่วน นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่แนบข้อเสนอแนะให้ไปทำประชามติ ก่อนหากจะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเมื่อพิจารณาดูรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เกี่ยวกับการทำประชามติแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้ในข้อเท็จจริง เพราะมีการกำหนดว่าการออกเสียงประชามติเพื่อให้ได้ข้อยุติจะต้องได้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง ไม่ใช่เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ ซึ่งขณะนี้ประชากรไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งและออกเสียงประชามติอยู่ 42 ล้านเสียง เสียงข้างมากจะต้องได้เกิน 21 ล้านเสียง
ดังนั้นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเพราะขนาดสมัยพรรคไทยรักไทยที่ได้ ส.ส.ถึง 378 คน ยังได้แค่ 19 ล้านเสียง การวินิจฉัยเช่นนี้เท่ากับไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับถือ เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญแบบหมกเม็ดของคณะผู้ยกร่างฯ เมื่อถามว่ามองว่าเป็นการวางยาของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ นายยุทธพงศ์ตอบว่า เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญคงดูในหมวดนี้แล้ว ถึงได้มีข้อเสนอแนะดังกล่าว
breakที่รวบรวมมานี้ ขนาดยังเป็นแค่ความคิดเห็นเบาะๆ ของคนภายในพรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดงนปช.กันเอง ชัด ปรากฏความขัดแย้งความคิดเห็นไม่ตรงกันอย่างกว้างขวาง เมื่อวานที่ประชุมใหญ่ ส.ส.เพื่อไทย ถกกันกว่า 3 ชั่วโมง สุดท้ายมีมติให้พรรค ลุยแก้รธน.ได้ แต่ยังไร้ข้อสรุป โหวตลงมติวาระ 3 หรือไม่?ข่าวด่วนหรือจะแก้ไขเป็นรายมาตรา ขอรอศึกษาคำวินิจฉัยส่วนตัวของคณะตุลาการศาล รธน.แต่ละคนมาประกอบ เข้าทำนองซื้อเวลาดูท่าทีคนในพรรคไปพลางก่อน      
แต่ทั้งนี้หากเชื่อที่ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ออกมาระบุ ความเห็นส่วนตัว เห็นด้วยที่จะให้พรรคเพื่อไทยแก้ รธน.เป็นรายมาตรา หลังยืนยันว่า ได้โทรศัพท์คุยกับ "นายใหญ่" แล้ว ซึ่งท่านบอกว่า ยอมรับมติฯศาลรธน. แม้จะไม่ทั้งหมดแต่ก็เห็นว่าหากดึงดันไม่ปฏิบัติตามศาลรธน. เรื่องก็คงไม่พบ ชัดเจนว่า ส่งซิกกันเป็นนัย
breakถ้าจะยึดตามสัญญาณนี้ ก็คงไม่แปลก ที่สุดท้ายหวยน่าจะออกที่ "แก้รธน. เป็นรายมาตรา" มากที่สุด นั่นเพราะใครๆ ก็ทราบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีสถานะอะไรในพรรคเพื่อไทย ส่วนหากท้ายที่สุดไม่เป็นไปตามคาด นั่นก็อาจเป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเปลี่ยนใจ  หรือไม่ ก็อาจไม่มีการโทรศัพท์พูดคุยกับนายใหญ่เพื่อไทย มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ก็เชื่อว่า คงจะไม่เป็นเช่นนั้นเป็นแน่...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น