เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นางสาวพรทิพย์ จันสะอาด รหัส 52031390165

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แอพฯปลอม! ระบาด แนะคนใช้สมาร์ทโฟนอัพเดท-พึ่งแอนตี้ไวรัส

แอพฯปลอม! ระบาด แนะคนใช้สมาร์ทโฟนอัพเดท-พึ่งแอนตี้ไวรัส
เทรนด์ ไมโคร เผยภัยคุกคามบนมือถือเติบโตน่ากังวล วายร้ายไซเบอร์อาศัยระบบเปิดพุ่งเป้าโจมตีแอนดรอยด์ โดย 3 อันดับมัลแวร์ที่พบสูงสุด คือ โปรแกรมปลอม ตัวขโมยข้อมูล และแอดแวร์...
ในยุคเริ่มต้นคอมพิวเตอร์ บรรดาเซียนคอมจัดแจงแสดงฝีมือด้านเทคโนโลยีด้วยการสร้างโปรแกรมไวรัส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อกวนผู้ใช้รายอื่น แม้จะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการขโมย ทั้งข้อมูล การทำธุรกรรมหรือเงินอย่างเช่นมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์มุ่งหวังอย่างในปัจจุบัน แต่ก็ดูเหมือนเป็นการจุดประกายให้ผู้ไม่ปรารถนาดีได้พบช่องทางหลอกลวงทรัพย์สินและผลประโยชน์ต่างๆ จากผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งในยุคปัจจุบันที่ "สมาร์ทโฟน" เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างแพร่หลาย ทั้งยังมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งแม้จะเป็นการเปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลและใช้งานด้านต่างๆ ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ร้ายอาศัยช่องทางดังกล่าวเข้าใกล้ผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นด้วย
breakเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ได้เปิดเผยรายงานล่าสุด ซึ่งพบว่าสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กำลังประสบปัญหาจากการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์และยังมีจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันองค์กรหลายแห่งยังเปิดเผยด้วยว่า การนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้ในที่ทำงานถือเป็นภัยคุกคามด้านไอทีที่เป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์และโทรศัพท์เคลื่อนที่อาจเป็นช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลอันมีค่าของผู้ใช้และขององค์กรให้กับบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตหากขาดความระมัดระวังในการใช้งาน
ทั้งนี้ จากรายงานวิจัยข้อมูลของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (ไอดีซี) ระบุว่า ภายในปีนี้ยอดจำหน่ายทั้งหมดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกมีจำนวนเกือบ 1.8 พันล้านเครื่อง เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มียอดจำหน่าย 1.7 พันล้านเครื่อง และคาดว่าภายในสิ้นปี 2559 ยอดจำหน่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 พันล้านเครื่อง โดยไอดีซียังคาดการณ์ด้วยว่าระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะยังคงเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดระยะเวลา 5 ปีของการคาดการณ์ และระบบปฏิบัติการนี้จะครองส่วนแบ่งตลาดในปีนี้สูงสุดด้วย
breakด้านนายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากอุปกรณ์แอนดรอยด์มีการใช้งานแพร่หลาย ทำให้ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์อย่างไม่ต้องสงสัย สาเหตุที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กลายเป็นเป้าโจมตีที่ได้รับความนิยมนั้น เนื่องจากโปรแกรมมีลักษณะเปิดกว้างสำหรับทุกฝ่าย สามารถแจกจ่ายได้อย่างอิสระ ซึ่งบริษัทคาดว่าการโจมตีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะยังคงเกิดขึ้นตลอดทั้งปีนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังตรวจพบจำนวนมัลแวร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า โดยมีมัลแวร์แอนดรอยด์จำนวน 2 สายพันธุ์ที่รู้จักในวงกว้าง คือ RuFraud9 และ DroidDreamLight10 ได้ทำให้ผู้ใช้นับล้านรายต้องสูญเสียข้อมูล เวลา และเงินทองไปไม่น้อยเลย
สำหรับอันดับมัลแวร์ที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ 1.โปรแกรมปลอม (Fake App) มีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนสูงสุด 30% 2.ตัวขโมยข้อมูล (Data Stealer) 21% 3.แอดแวร์ (Adware) 18% 4.ตัวลวงการให้บริการพรีเมียม (Premium Service Abuser) 14% 5.รูทเทอร์/แรท (Rooter/RAT) 13% และ 6.ตัวดาวน์โหลดที่เป็นอันตราย (Malicious Downloader) อยู่ที่ 4%
แม้ว่าภัยคุกคามโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จะมาในรูปของโปรแกรมที่เป็นอันตราย แต่เทรนด์ ไมโคร คาดการณ์ว่าอาชญากรไซเบอร์จะยังคงพุ่งเป้าโจมตีไปที่โปรแกรมทั่วไป เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่หรือข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมของนักพัฒนาต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การขโมยหรือเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้ได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามเทรนด์ ไมโครได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า มีนักพัฒนาโปรแกรมเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ได้ดำเนินการจัดการช่องโหว่ในโปรแกรมของตนและปรับแก้สิ่งที่ผิดพลาดให้สมบูรณ์ก่อนที่จะเผยแพร่โปรแกรม
โดยทั่วไปภัยคุกคามระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมาในรูปของโทรจันหรือหนอนอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาศัยผู้ใช้เป็นตัวกลางในการแพร่กระจาย ขณะที่ภัยคุกคามโทรศัพท์เคลื่อนที่บางอย่างจะเกี่ยวข้องกับสปายแวร์ที่สามารถบันทึกหมายเลขโทรออกและการสนทนาได้ ซึ่งถือเป็นการล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งยังสามารถขโมยข้อมูลประจำตัว และทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรได้อีกด้วย นอกจากนี้ภัยคุกคามโทรศัพท์เคลื่อนที่บางอย่างยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบลูทูธได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาการดำเนินการจากผู้ใช้
breakสำหรับแนวทางในการป้องกันภัยคุกคามระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ที่ปรึกษาด้านเทคนิค ของเทรนด์ ไมโคร ให้คำแนะนำว่า หมั่นปรับปรุงระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนและโปรแกรมแก้ไข (แพชต์) ช่องโหว่สำหรับซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เปิดใช้งานการป้องกันไวรัสในสมาร์ทโฟนอยู่เสมอ นำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยสำหรับพีซีไปใช้กับอุปกรณ์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ของคุณ ขอความช่วยเหลือจากฝ่ายไอทีในกรณีที่เครื่องใช้งานหลักของคุณทำงานช้าลงหลังจากที่ได้ซิงค์ข้อมูลกับสมาร์ทโฟนของคุณแล้ว หรือเลือกใช้โซลูชั่นป้องกันไวรัสสำหรับอุปกรณ์และโทรศัพท์เคลื่อนที่.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น